7 วิธีแยกขยะในบ้านก่อนทิ้ง ช่วยลดของเหลือใช้ ก่อนเปลี่ยนใหม่ให้เกิดประโยชน์
วิธีแยกขยะในบ้านให้ถูกต้อง พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับขยะว่ามีกี่ประเภท ต้องคัดแยก และวิธีลดขยะในบ้านต้องทำอย่างไร มาดูกัน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ขยะ” เป็นปัญหาหลักของคนทั่วโลก เพราะนอกจากจะสร้างความสกปรกและกลิ่นเหม็นแล้ว ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค เช่น หนู แมลงวัน แมลงสาบ แถมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แม่น้ำ ลำคลอง รวมไปถึงสัตว์ต่าง ๆ ที่เผลอกินเข้าไปอีกต่างหาก ฉะนั้นแล้วเราทุกคนจึงต้องช่วยกันจัดการ เริ่มจากการแยกขยะก่อนทิ้งให้ถูกต้อง ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ด้วยการแยกขยะในบ้าน ฮั่นแน่ ว่าแต่หลายคนไม่รู้ใช่ไหมล่ะคะว่าวิธีแยกขยะที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ถ้างั้นก็อย่ามัวรีรอ ตามมาดูวิธีคัดแยกขยะ พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับขยะ และวิธีลดขยะในบ้านกันได้เลย
ประเภทของขยะ
ขยะมูลฝอยในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ได้แก่
ขยะอินทรีย์หรือขยะย่อยสลาย เป็นขยะที่สามารถย่อยสลายหรือเน่าเสียได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว เช่น เศษอาหาร เศษผัก-ผลไม้ ต้นหญ้า ใบไม้ และภาชนะที่ย่อยสลายเองได้ โดยเราสามารถนำขยะประเภทนี้ไปทำเป็นน้ำหมักจุลินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และใช้บำรุงดินหรือบำรุงต้นไม้ได้ต่อไป ส่วนถังขยะไว้ทิ้งขยะย่อยสลาย คือ ถังขยะหรือถุงขยะสีเขียว ที่มีสัญลักษณ์สามเหลี่ยม มีรูปก้างปลาและเศษอาหารตรงกลาง
ขยะอินทรีย์หรือขยะย่อยสลาย เป็นขยะที่สามารถย่อยสลายหรือเน่าเสียได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว เช่น เศษอาหาร เศษผัก-ผลไม้ ต้นหญ้า ใบไม้ และภาชนะที่ย่อยสลายเองได้ โดยเราสามารถนำขยะประเภทนี้ไปทำเป็นน้ำหมักจุลินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และใช้บำรุงดินหรือบำรุงต้นไม้ได้ต่อไป ส่วนถังขยะไว้ทิ้งขยะย่อยสลาย คือ ถังขยะหรือถุงขยะสีเขียว ที่มีสัญลักษณ์สามเหลี่ยม มีรูปก้างปลาและเศษอาหารตรงกลาง
ขยะรีไซเคิล เป็นขยะที่สามารถนำมาแปรรูป แล้วนำไปใช้ประโยชน์ใหม่ได้อีกครั้ง ส่วนมากจะเป็นสิ่งของเหลือใช้ หรือภาชนะบรรจุของ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก กระป๋อง กล่อง ลัง โลหะ อะลูมิเนียม และยางรถยนต์ โดยเราสามารถนำขยะเหล่านี้ไปขายเป็นของเก่า ไปประยุกต์เป็นของใช้ที่มีประโยชน์ หรือไม่ก็ส่งต่อให้กับโครงการรีไซเคิลต่าง ๆ ได้ ส่วนถังขยะที่รองรับขยะรีไซเคิล คือ ถังขยะหรือถุงขยะสีเหลือง ที่มีสัญลักษณ์ลูกศรหมุนวนกันเป็นทรงสามเหลี่ยม
3. ขยะอันตราย
ขยะอันตรายหรือขยะพิษ เป็นขยะที่มีวัตถุอันตรายปนเปื้อนหรือประกอบอยู่ เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่โทรศัพท์ กระป๋องสเปรย์ และภาชนะบรรจุสารเคมีอันตราย ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ไม่ยากจากสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเตือนที่มักจะติดอยู่บนฉลากว่า สารมีพิษ สารไวไฟ สารกัดกร่อน อันตราย คำเตือน ข้อควรระวัง ห้ามรับประทาน และห้ามเผา โดยเราสามารถนำขยะประเภทนี้ไปกำจัดอย่างถูกต้องและปลอดภัยได้ ถ้าหากมีการเก็บแยกอย่างเหมาะสม อีกทั้งยังสามารถนำไปรีไซเคิลได้ด้วย ส่วนถังขยะที่รองรับขยะอันตราย คือ ถังขยะหรือถุงขยะสีส้ม ที่มีสัญลักษณ์วงกลม พร้อมรูปลูกศรสีขาวชี้ลง และหัวกะโหลกกับกากบาทด้านใน
4.ขยะทั่วไป
ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายได้ยาก ไม่เหมาะจะนำไปรีไซเคิล แต่ก็ไม่ได้เป็นอันตรายเกินไป จึงเรียกง่าย ๆ ว่า ขยะทั่วไป คือ ขยะทั้งหมดที่อยู่นอกเหนือจากขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล และขยะอันตรายนั่นเอง เช่น โฟม ฟอยล์ ถุงพลาสติก ซองอาหาร กระป๋องสี และแผ่นซีดี ซึ่งจำเป็นต้องแยกก่อนทิ้ง เพื่อจะได้นำไปกำจัดอย่างถูกต้อง ส่วนถังขยะที่รองรับขยะทั่วไป คือ ถังขยะหรือถุงขยะสีน้ำเงิน ที่มีสัญลักษณ์รูปคนกำลังทิ้งขยะลงในถัง
วิธีแยกขยะในบ้าน
ขั้นตอนการคัดแยกขยะในบ้าน มีดังต่อไปนี้
– ขยะย่อยสลาย : ให้แยกระหว่างเศษอาหารกับเศษใบไม้ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ที่แตกต่าง โดยควรจัดเก็บในภาชนะที่สามารถปิดได้
– ขยะรีไซเคิล : ให้แยกขยะรีไซเคิลแต่ละชนิดออกจากกัน เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้ และความง่ายในการนำไปขาย โดยขยะรีไซเคิลมีทั้งหมด 4 ชนิดหลัก ๆ ได้แก่
– ขยะอันตราย : ให้แยกขยะอันตรายออกจากขยะประเภทอื่น แล้วก็แยกชนิดของขยะอันตรายอีกทีด้วย อย่าเก็บปนกันเด็ดขาด นอกจากนี้ควรใส่ไว้ในภาชนะที่แข็งแรง มิดชิด และไม่รั่วไหลด้วย
– ขยะทั่วไป : เก็บรวมกันไว้ได้เลย
วิธีลดขยะในบ้าน
เราทุกคนสามารถลดปริมาณขยะในบ้านได้ง่าย ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตให้สอดคล้องตามหลัก 5R ซึ่งประกอบไปด้วย
R1 : Reduce
Reduce คือ การคิดก่อนใช้หรือการลดปริมาณขยะที่กำลังจะเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้กล่องข้าวแทนกล่องโฟม การใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดโต๊ะแทนกระดาษทิชชู การกินอาหารที่ร้านแทนการห่อกลับ รวมถึงการหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้ครั้งเดียว เช่น จานกระดาษ แก้วพลาสติก การหลีกเลี่ยงสารเคมีที่จะก่อให้เกิดขยะอันตราย การเลือกสินค้าที่บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การไม่รับถุงเมื่อซื้อของเพียงไม่กี่ชิ้น และการใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดเติมแทนการซื้อใหม่ด้วย
R2 : Reuse
Reuse คือ การนำของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำให้คุ้มค่า ตัวอย่างเช่น การนำถุงพลาสติกไปใส่ขยะ การนำขวดพลาสติกไปทำเป็นแจกัน การนำขวดแก้วเก่าไปใส่ของอยางอื่น การนำเศษผ้ามาเย็บรวมกันเป็นชิ้น การใช้กระดาษให้ครบทั้งสองหน้า การใช้ภาชนะที่สามารถใช้ซ้ำได้ การใช้ถ่านที่สามารถชาร์จได้ รวมถึงการใช้ของมือสองด้วย
R3 : Repair
Repair คือ การซ่อมของที่พังแล้วให้กลับมาใช้ได้อีกครั้ง แทนที่จะทิ้งเป็นขยะอย่างเปล่าประโยชน์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า โทรทัศน์ พัดลมต่าง ๆ หรือไม่เช่นนั้น พวกเฟอร์นิเจอร์ที่ชำรุด ทรุดโทรม ก็สามารถตกแต่งใหม่ และนำกลับมาใช้ได้อีกครั้งเหมือนกัน
R4 : Recycle
Recycle คือ การแปรรูปสิ่งของต่าง ๆ ให้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้อย่างสร้างสรรค์ โดยหลักการง่าย ๆ ให้เราเลือกใช้แต่ผลิตภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ และอะลูมิเนียม จากนั้นเวลาเก็บทิ้งก็คัดแยกออกต่างหาก แล้วนำไปขายหรือบริจาค เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลต่อไป
R5 : Reject
Reject คือ การงดใช้ผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายยาก ทำลายยาก นำไปรีไซเคิลยาก หรือพวกผลิตภัณฑ์ใช้ได้แค่ครั้งเดียว เช่น โฟม แก้วพลาสติก แก้วกระดาษ เป็นต้น
**ขอขอบคุณข้อมูลจาก ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์, กรมควบคุมมลพิษ, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ seattle